ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

รูปภาพโดย : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=4501&filename=index

มีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันอย่างสันติวิธี สร้างเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคง ทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคงในชีวิต ตลอดจนทรัพย์สิน อีกทั้งมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกอาเซียน

ประชาคมความมั่นคงอาเซียนส่งเสริมการพัฒนาทางด้านการเมืองโดยยึดหลักประชาธิปไตย นิติธรรม ธรรมาภิบาล ความเคารพ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพพื้นฐานภายใต้กฎบัตรอาเซียน ซึ่งจะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมและได้ผลประโยชน์ด้วย อีกทั้งส่งเสริมความร่วมมือที่แน่นแฟ้นและมีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างอาเซียนและประเทศ คู่เจรจาและมิตรประเทศ ดังนี้

  1. มีกติกาและการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน โดยยึดมั่นหลักการของการไม่แทรกแซงกิจการ ภายในและมีการส่งเสริมค่านิยมของประชาคมควบคู่ไปด้วย กล่าวคือ การมีความร่วมมือด้านการพัฒนาทางการเมือง การสร้างและการแบ่งปันกฎเกณฑ์ร่วมกัน การส่งเสริมความเท่าเทียมด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เป็นต้น
  2. มีความเป็นเอกภาพ ความสงบสุข ความแข็งแกร่ง และมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงครอบคลุมในทุกมิติเพื่อส่งเสริมให้อาเซียนพึ่งพาอาศัยกลไกของตนมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาและความท้าทายต่างๆ ในภูมิภาค อาทิ การสร้างสันติภาพหลังจากความขัดแย้ง การสร้างความร่วมมือเพื่อรับมือกับปัญหารูปแบบใหม่ การตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อประเด็นเร่งด่วน การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน เป็นต้น
  3. มีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาคอาเซียน โดยการส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางอาเซียน ในความร่วมมือระดับภูมิภาคและการสร้างประชาคม การเสริมสร้างการหารือและความร่วมมือในประเด็น พหุภาคีที่เป็นความกังวลร่วมกัน เป็นต้น

 

ที่มา : แก้ไขเพิ่มเติมจาก

  • - แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน