ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

รูปภาพโดย : http://www.siamedunews.com/articles/42242793/index.php

มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสังคมในประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชาชน มีการกินดีอยู่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น ความยากจน สิทธิมนุษยชน วัฒนธรรม เป็นต้น โดยมีคณะทำงานอาเซียนรับผิดชอบการดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน

อาเซียนมุ่งหวังให้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง จึงได้จัดทำแผนการจัดตั้งซึ่งประกอบไปด้วยความร่วมมือ 6 ด้าน ได้แก่

  1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development) อาทิ การให้ความสำคัญกับการศึกษา การลงทุน ในทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม การสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ เป็นต้น
  2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) อาทิ การจัดความยากจน การสร้างเครือข่ายความปลอดภัยสังคม การส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร การเพิ่มศักยภาพ ในการควบคุมโรคติดต่อ และการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ เป็นต้น
  3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Protection) อาทิ การสนับสนุนสิทธิสำหรับกลุ่ม ด้อยโอกาสและกลุ่มที่อ่อนแอ การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น
  4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Ensuring Environmental Sustainability) อาทิ การจัดการปัญหามลพิษ ข้ามแดน การส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมคุณภาพการดำรงชีวิตในเมือง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมการบริหารป่าไม้ เป็นต้น
  5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building ASEAN Identity) อาทิ การส่งเสริมและสร้างความตระหนักในการเป็นประชาคมอาเซียน การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมอาเซียน และการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น
  6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) อาทิ การเสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า 6 ประเทศ กับสมาชิกใหม่

อีกทั้ง มุ่งหวังให้ประเทศสมาชิกเคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาของพลเมืองอาเซียน เน้นคุณค่าร่วมกันท่ามกลางความเป็นเอกภาพในความหลากหลาย โดยปรับให้เข้ากับสถานการณ์ โอกาส และสิ่งท้าทายในปัจจุบัน โดยมีกลไกลดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขา (Sectoral) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Offcials Meeting) ระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio Cultural Community Council) รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการด้านสังคม และวัฒนธรรม (Senior officials Committee for ASEAN Socio-Cultural Community

 

ที่มา : แก้ไขเพิ่มเติมจาก

  • - แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน