รูปภาพโดย : http://www.siamedunews.com/articles/42242793/index.php
มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสังคมในประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชาชน มีการกินดีอยู่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น ความยากจน สิทธิมนุษยชน วัฒนธรรม เป็นต้น โดยมีคณะทำงานอาเซียนรับผิดชอบการดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน
อาเซียนมุ่งหวังให้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง จึงได้จัดทำแผนการจัดตั้งซึ่งประกอบไปด้วยความร่วมมือ 6 ด้าน ได้แก่
-
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development) อาทิ การให้ความสำคัญกับการศึกษา การลงทุน ในทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม การสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ เป็นต้น
-
การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) อาทิ การจัดความยากจน การสร้างเครือข่ายความปลอดภัยสังคม การส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร การเพิ่มศักยภาพ ในการควบคุมโรคติดต่อ และการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ เป็นต้น
-
สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Protection) อาทิ การสนับสนุนสิทธิสำหรับกลุ่ม ด้อยโอกาสและกลุ่มที่อ่อนแอ การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น
-
ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Ensuring Environmental Sustainability) อาทิ การจัดการปัญหามลพิษ ข้ามแดน การส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมคุณภาพการดำรงชีวิตในเมือง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมการบริหารป่าไม้ เป็นต้น
-
การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building ASEAN Identity) อาทิ การส่งเสริมและสร้างความตระหนักในการเป็นประชาคมอาเซียน การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมอาเซียน และการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น
-
การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) อาทิ การเสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า 6 ประเทศ กับสมาชิกใหม่
อีกทั้ง มุ่งหวังให้ประเทศสมาชิกเคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาของพลเมืองอาเซียน เน้นคุณค่าร่วมกันท่ามกลางความเป็นเอกภาพในความหลากหลาย โดยปรับให้เข้ากับสถานการณ์ โอกาส และสิ่งท้าทายในปัจจุบัน โดยมีกลไกลดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขา (Sectoral) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Offcials Meeting) ระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio Cultural Community Council) รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการด้านสังคม และวัฒนธรรม (Senior officials Committee for ASEAN Socio-Cultural Community
ที่มา : แก้ไขเพิ่มเติมจาก
-
- แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน