ธรรมาภิบาลท้องถิ่น

รูปภาพโดย : http://www.slideshare.net/bankkokku/ss-8804979

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์หลังจากการเปิดประชาคมอาเซียน (the ASEAN community) และเป็นกลไกของการสร้างความร่วมมือภายใต้การพัฒนาเศรษฐกิจของอาเซียน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานในการสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (local economic development) ผ่านการกระจายอำนาจและการปฏิรูปเพื่อให้สร้างเศรษฐกิจสังคมระดับท้องถิ่นให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ทำให้ “ธรรมาภิบาลท้องถิ่น” มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างสังคมท้องถิ่นให้เข้มแข็ง

ในการประชุมของ Asia Development Dialogue (2016) ได้กล่าวถึง การพัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นผ่านกรอบของธรรมาภิบาลท้องถิ่นว่าต้องเน้นที่ “...ความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนด้วยการเพิ่มผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (Small and Medium-Size Enterprises, SMEs) ให้เป็นกระดูกสันหลักของเศรษฐกิจอาเซียน โดยสรุปแล้ว SMEs จะขับเคลื่อนการเจริญเติบโตและพัฒนาให้กับชุมชน ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการรายใหม่และเพิ่มโอกาสสำหรับทุกเพศทุกวันในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ”

หากจะต้องการบรรลุถึงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในระดับท้องถิ่น Dr. Bernadia Irawati Tjandradewi (2016) เลขาธิการทั่วไปของ United Cities and Local Government Asia Pacific (UCLG ASPAC) ได้ให้ข้อมูลในการสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นไว้ว่าต้องประกอบด้วย 4 เงื่อนไขหลักพื้นฐาน ดังนี้

  1. ทุนมนุษย์และทุนทางสังคม
    1.1 การสร้างสมรรภาพทางด้านองค์การและความเป็นผู้นำ: มีการสร้างความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างกัน
    1.2 องค์ความรู้และฐานข้อมูล: สำหรับทางธุรกิจ การตลาด ข้อมูลเศรษฐกิจ การแข่งขันทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของประชาชน และข้อมูลที่ชัดเจนของประชากรในพื้นที่ในระดับครัวเรือน
    1.3 สมรรถภาพ ศักยภาพ และนวัตกรรม: มีระเบียบกติการสำหรับการมีส่วนร่วมและการแข่งขัน ประสบการณ์ และสามารถจัดหาแรงงานได้เพียงพอ
  2. ทุนทางการเงิน: การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ และการบริหารทางการเงินต่างๆ
  3. ทุนทางธรรมชาติ: ทรัพยากรธรรมชาติ และการบริหารเกี่ยวกับระบบนิเวศ
  4. ทุนในทางกายภาพ: เทคโนโลยี เครื่องมือ โรงงาน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ดังนั้น การกระจายอำนาจและการมอบอำนาจให้กับประชาชนจึงเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญสำหรับการสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่น และการเพิ่มศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นการปกครองที่ใกล้ชิดกับประชาชนและสามารถจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก สินค้าและบริการพื้นฐาน และการจัดบริการสารธาณะ ให้กับประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมท้องถิ่นให้มีคุณภาพ ท้ายที่สุดนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงควรกลับมาให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เพื่อสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นสำหรับการเป็นเครือข่ายในการพัฒนาระดับภูมิภาคต่อไป


อ้างอิง :