ความรู้เรื่องพิธีการทูต

        ภายหลังที่ 10 ประเทศสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ได้ประกาศการเข้าสู่การเป็น “ประชาคมอาเซียน” อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา โดยประชาคมอาเซียนนั้นจะประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน อันจะส่งผลให้เกิดปฏิสัมพันธ์ข้ามขอบเขตพรมแดนรัฐเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้

       พิธีการทูตจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ตลอดไปจนถึงการสร้างความร่วมมือและยุติความขัดแย้งผ่านการเจรจาต่อรองด้วยสันติวิธี การดำเนินการทางการทูตมิเป็นเพียงแค่การเชื่อมหรือรักษาสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ แต่ยังคงเป็นกลไกสำคัญในการคุ้มครอง ปกปักรักษา แสดงจุดยืน ส่งเสริมและพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพิธีทางการทูตเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนผู้สนใจ ดังนี้

 

1. พิธีการทูตทั่วไป

2. แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเยี่ยมคารวะของแขกต่างประเทศ 

3. การพัฒนาศักยภาพด้านการต่างประเทศของบุคลากรกระทรวงมหาดไทย เพื่อรองรับการเป็นประธานอาเซียน : หลักพิธีการทูตและการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ (Protocol Training Course) 

4. การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ติดต่อ ประสานงาน (Liaison Officer)

5. การเลี้ยงรับรองทางการทูต มรรยาททางสังคมและการแต่งกาย

6. ประเภทของความตกลงระหว่างประเทศและหลักปฏิบัติของการลงนามระหว่างประเทศ

7. หลักพิธีการทูต การจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ 

8. แนวทางการจัดพิธีลงนามสนธิสัญญา (Guidelines on Treaty Signing Ceremony)

9. การรับรองการเยือนแบบทวิภาคีและการรับรองการเยือนแบบพหุภาคี (การจัดการประชุมระหว่างประเทศ) 

10. สำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพ