สถานะ IUU ในอาเซียน ปี 2562 - 2564


สถานะ IUU ในอาเซียน ปี 2562 – 2564 
 
หน่วยงาน Poseidon Aquatic Resource Management และ Global Initiative Against Transnational Organized Crime ได้จัดทำรายงานการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และขาดการควบคุม ประจำปี 2564 (IUU Fishing Index 2021) ซึ่งรวบรวมข้อมูลการทำประมง IUU จากประเทศที่มีภูมิประเทศติดทะเล จำนวน 152 ประเทศ โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ยิ่งมีคะแนนน้อยคือยิ่งมีการทำ IUU น้อย (จาก 5 – 1) ดังนี้
 
บรูไน 
     - IUU แย่ลง จาก 2.22 คะแนน ในปี 2562 เป็น 2.39 คะแนน ในปี 2564
กัมพูชา 
     - IUU ดีขึ้น จาก 3.23 คะแนน ในปี 2562 เหลือ 2.54 คะแนน ในปี 2564
อินโดนีเซีย 
     - IUU ดีขึ้น จาก 2.70 คะแนน ในปี 2562 เหลือ 2.55 คะแนน ในปี 2564
มาเลเซีย 
     - IUU ดีขึ้น จาก 2.52 คะแนน ในปี 2562 เหลือ 2.39 คะแนน ในปี 2564
เมียนมา
     - IUU ดีขึ้น จาก 2.73 คะแนน ในปี 2562 เหลือ 2.44 คะแนน ในปี 2564
ฟิลิปปินส์ 
     - IUU ดีขึ้น จาก 2.71 คะแนน ในปี 2562 เหลือ 2.55 คะแนน ในปี 2564
สิงคโปร์ 
     - IUU ดีขึ้น จาก 2.46 คะแนน ในปี 2562 เหลือ 2.39 คะแนน ในปี 2564
ไทย 
     - IUU แย่ลง จาก 2.33 คะแนน ในปี 2562 เป็น 2.38 คะแนน ในปี 2564
เวียดนาม 
     - IUU ดีขึ้น จาก 3.16 คะแนน ในปี 2562 เหลือ 2.33 คะแนน ในปี 2564
 
คะแนนข้างต้นสรุปมาจากตัวชี้วัดต่าง ๆ จำนวน 40 ข้อ ซึ่งแบ่งได้เป็นกลุ่มง่าย ๆ ดังนี้
1. การจัดการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) หรือพื้นที่ทะเลภายในขอบเขต 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง
2. การจัดการเรือประมง
3. การจัดการท่าเรือ
4. ความเสี่ยงในการเกิดการทำประมง IUU
5. การเกิดการทำประมง IUU
6. ความพยายามในการลดการทำประมง IUU
 
ทั้งนี้ รายงาน IUU ข้างต้นไม่ปรากฏข้อมูลของ สปป. ลาว เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่ติดทะเล
 
 
 
 

ที่มา:ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์