รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวเปิดการประชุม Asia-Pacific Forum on Sustainable Development (APFSD) ครั้งที่ ๗


 
เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (รมว. กต.) กล่าวเปิดการประชุม Asia-Pacific Forum on Sustainable Development (APFSD) ครั้งที่ ๗ ซึ่งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (เอสแคป) จัดขึ้นผ่านระบบ การประชุมทางไกล ภายใต้หัวข้อหลัก “การเร่งรัดการดาเนินการเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ ในเอเชีย-แปซิฟิก (Accelerating action for and delivery of the 2030 Agenda in Asia and the Pacific) ” โดยที่ประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการเร่งรัดการดาเนินการเพื่อบรรลุวาระ การพัฒนา ที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ (2030 Agenda for Sustainable Development) และเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal: SDGs) ภายใต้ทศวรรษแห่งการดาเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action) รวมทั้งแนวทางการรับมือกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) มีผู้แทนประเทศสมาชิกเอสแคป ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และหน่วยงานสหประชาชาติเข้าร่วม โดยบุคคลสาคัญอื่น ๆ ที่ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในช่วงพิธีเปิดการประชุม ได้แก่ นาง Amina J. Mohammed รองเลขาธิการสหประชาชาติ (UN Deputy Secretary-General) นาง Armida Salsiah Alisjahbana รองเลขาธิการสหประชาชาติและเลขาธิการบริหารเอสแคป (Under-Secretary-General and Executive Secretary of ESCAP) และนาย Fidelis Magalhães รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การปฏิรูปกฎหมายและกิจการรัฐสภาสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต (Minister for Legislative Reforms and Parliamentary Affairs of the Democratic Republic of Timor-Leste) ในฐานะประธานการประชุม APFSD สมัยที่ ๖
 
ในการกล่าวถ้อยแถลงเปิดการประชุมฯ รมว. กต. ย้าถึงความท้าทายและผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ต่อทุกภาคส่วนในสังคมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะ ต่อระบบสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเป็นอุปสรรคสาคัญต่อความคืบหน้า ในการดาเนินการเพื่อบรรลุ SDGs ภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ทาให้เห็นถึงความเหลื่อมล้าในสังคมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น รมว. กต. ย้าถึงความจาเป็นของการเปลี่ยนแปลงอย่างเด็ดขาด (transformative change) ในการเร่งรัดการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนและฟื้นฟูในภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ โดยนาเสนอแนวทางสาคัญ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) เร่งรัดหาแนวทางการพัฒนา ที่ยั่งยืน โดยเฉพาะผ่านแนวทางการพัฒนาที่เป็นของตนเอง (homegrown development approaches) และเน้นการพัฒนามนุษย์ โดยประเทศไทยมีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (๒) การนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนา ที่ยั่งยืน โดยดาเนินการร่วมกับการขจัดความเหลื่อมล้าในการเข้าถึงเทคโนโลยี และ (๓) การส่งเสริมบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนเพื่อขยายฐานการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะกลุ่มอาสาสมัคร และสตรี รวมทั้งเรียกร้องให้ทุกประเทศเชื่อมั่นและร่วมมือกันในระบบพหุภาคีเพื่อฟื้นฟูและนาไปสู่การรู้รับ ปรับตัว ฟื้นเร็วทั่ว อย่างยั่งยืน ภายหลังสถานการณ์โควิด-๑๙
 
 
 
 
 

ที่มา:กระทรวงการต่างประเทศ