ไทยกับสามเสาหลัก

เสาหลักทางเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับเศรษฐกิจมีความเป็นมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การประกาศจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) อันเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค จนนำมาสู่ความร่วมมือด้านอื่น เช่น ความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากร ที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) กรอบข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการค้าและบริการ (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) กรอบข้อตกลงว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน (Framework Agreement on ASEAN Investment Area: AIA) และข้อตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) เป็นต้น

ประกอบกับการเกิดขึ้นของอาเซียนที่รับเอาความร่วมมือภายนอกในการเปิดการค้าเสรี เช่น กลุ่มอาเซียน+3 คือ ประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน+6 คือ ประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมกันจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ การเปิดการค้าเสรีทั้งระดับภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นๆ ทำให้การเตรียมพร้อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

ด้วยเหตุนี้การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในด้านของเสาหลักทางเศรษฐกิจ (Economic pillar) ผ่านกรอบการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้านเศรษฐกิจ หรือ ASEAN Economic Community (AEC) Blueprint ซึ่งมีประเด็นที่ประเทศไทยจะต้องปรับตัวตามกรอบข้อตกลงดังนี้

  1. การสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base)
    1. ส่งเสริมเสรีในการเคลื่อนย้ายสินค้า (Free flow of good) เพื่อสร้างเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้สามารถเป็นศูนย์การผลิตในระดับห่วงโซ่อุปทาน สากลได้ เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับการลดภาษี การลดการจำกัดข้อกีดกันทางการค้า การวางกรอบเชิงสถาบันเกี่ยวกับกฎเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า และการให้อำนวยความสะดวกในการค้าและการผลิต เป็นต้น
    2. ส่งเสริมเสรีในการเคลื่อนไหวด้านบริการ (Free flow of services) เช่น การบริการทางการเงิน การบริการด้านการประกอบธุรกิจ การบริการด้านการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ การบริการด้านสุขภาพ การบริการด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น
    3. ส่งเสริมการเปิดเสรีทางด้านการลงทุน (Free flow of investment) จะเป็นการพัฒนา ต่อยอดจากกรอบข้อตกลงว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน (Framework Agreement on ASEAN Investment Area: AIA) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งกัน (Competitiveness) ในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment: FDI) และการลงทุนจากแหล่งทุนภายในอาเซียน (Intra-ASEAN Investment) ในการพัฒนา และรักษาพลวัตรในการพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียนให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
    4. ส่งเสริมการเปิดเสรีด้านแหล่งเงินทุน (Free flow of capital) เพื่อทำให้ตลาดอาเซียน ด้านแหล่งทุนสามารถพัฒนาและรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ สนับสนุนให้มีการเปิดเสรีทุนอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งในด้านการจัดการหนี้ การกระจายความเสี่ยง และการสนับสนุน ในการแลกเปลี่ยนค่าเงินต่างๆ
    5. ส่งเสริมการเคลื่อนไหวอย่างเสรีของแรงงานที่มีฝีมือ (Free flow of skilled labour) เป็นหนึ่งในสาระสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ทรัพยากรมนุษย์ที่เป็น “แรงงานที่มีฝีมือ” สามารถเคลื่อนไหวในการเข้าไปสร้างผลิตภาพทางการผลิตสินค้าและบริการ อย่างเสรี โดยไม่ติดขัดในเรื่องของกฎระเบียบและสัญชาติ อาจมีการปรับกฎระเบียบ ในการเข้าออกในประเทศสมาชิกอาเซียน รวมไปถึงความร่วมมือในการพัฒนาแรงงาน ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network: AUN)
    6. ให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มสาขาภาคส่วนทางเศรษฐกิจต่างๆ (Priority Integration Sectors) เพื่อทำให้เศรษฐกิจในแต่ละภาคส่วนเติบโตไปได้พร้อมกัน มีการบูรณาการ ภาคส่วนต่างๆ ทั้งการผลิต แหล่งทุน และทรัพยากร ในระดับ SMEs ระดับชาติ จนไปถึงระดับภูมิภาค ในด้านนี้อาจย้อนไปถึงกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญ ของอาเซียน (Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors) ที่มีการทำขึ้นในปี พ.ศ. 2547 ด้วย
    7. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านอาหาร เกษตร และป่าไม้ (Food, Agriculture and Forestry) ทั้งการค้าภายในอาเซียนและอาเซียนกับประเทศอื่น (intra- and extra-ASEAN) เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันด้านอาหาร สินค้าเกษตร ประมง และป่าไม้ ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน รวมไปถึงการมีข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้าด้านอาหาร สินค้าเกษตร ประมง และป่าไม้ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น สำหรับการค้าเสรีและสุขอนามัย
  2. การสร้างการแข่งขันทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ผ่านการเปลี่ยนกฎกติกาและสถาบันต่างๆ
    1. การเปลี่ยนแปลงนโยบายในการแข่งขันทางการค้า (Competition policy)
    2. การให้ความคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer protection) ผ่านคณะกรรมการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค (ASEAN Committee on Consumer Protection : ACCP)
    3. หลักการในเรื่องการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญหา (Intellectual Property Rights: IPR) ผ่าน Work Plan for ASEAN Cooperation on Copyrights เป็นต้น
    4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure development) ทั้งในด้านการขนส่ง คมนาคม ผ่านแผนปฏิบัติการว่าด้านการคมนาคมอาเซียน (The ASEAN Transport Action Plan: ATAP) ที่มีมาตรการย่อยทั้งหมด 48 มาตรการสำหรับการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และรวมไปถึงการมีโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล (information infrastructure) สำหรับติดตามการเจริญเติบโตและศักยภาพในการแข่งขันของเศรษฐกิจอาเซียน
    5. การปรับตัวในด้านของภาษี (Taxation)
    6. การปรับตัวเพื่อรองรับการค้าออนไลน์ (E-Commerce)
  3. การสร้างความเป็นธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจ (Equitable Economic Development)
    1. การพัฒนา SME ภายใต้กรอบ The ASEAN Policy Blueprint for SME Development (APBSD) เพื่อส่งเสริมให้หน่วยธุรกิจขนาดย่อยในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถแข่งขันในระบบเศรษฐกิจได้
    2. ส่งเสริมความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) เพื่อทำให้การรวมตัวของของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยในการลดช่องว่างของการพัฒนา (narrowing the development gap: NDG) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม (ASEAN-6) และกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (CLMV) เช่น การลดปัญหาความยากจน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชากร พัฒนาระบบราชการ และเสริมสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขัน
  4. การพัฒนาเศรษฐกิจเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก (Integration into the Global Economy)
    1. วางกรอบเพื่อสร้างความสอดคล้องในการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจภายนอก (Coherent Approach) ทั้งในด้านของการเปิดการค้าเสรีและการสร้างความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ
    2. สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการเป็นเครือข่ายอุปทานระดับโลก เพื่อให้ประเทศสมาชิก อาเซียนสามารถพัฒนาศักยภาพและผลิตภาพในทางอุตสาหกรรมเพื่อแข่งขันในระดับสากล
แผ่นภาพ: พัฒนาการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
   ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนจึงไม่ใช่เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศเท่านั้น แต่รวมถึงการสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อให้เกิด “อัตลักษณ์อาเซียน” ที่เน้นในเรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนการรักษามรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันในอาเซียน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขึ้น โดยก้าวผ่านข้อจำกัดในเรื่องของ “ชาตินิยม” ของแต่ละประเทศ  เพื่อบรรลุเป้าหมายตามความต้องการของอาเซียนภายใต้คำขวัญที่ว่า “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม” (one vision, one identity, one community) 

อ้างอิง

 

เสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง